
แนวทางการแก้ปัญหา
สภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเมื่อเกิดปัญหา ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องมักหาทางออกด้วยการจับเด็กที่ตั้งครรภ์แต่งงานและอยู่กินฉันสามีภรรยากับฝ่ายชายที่มักจะเป็นเด็กด้วยกันทั้งสองฝ่าย ในความเป็นจริงการแต่งงานมิได้แก้ไขปัญหา เนื่องจากเด็กทั้งสองฝ่ายยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสามีภริยารวมทั้งการเป็นพ่อแม่ ที่สำคัญคือพวกเขายังต้องพึ่งพิงผู้ปกครองในฐานะที่ยังเป็นเด็กจึงยังไม่อาจพึ่งตนเอง ยังต้องการเวลาและโอกาสอีกมาก ในการพัฒนาตนเองขึ้นมาจนสามารถพึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งให้แก่สมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว จนสามารถก่อกำเนิดครอบครัวใหม่แยกจากครอบครัวเดิมของตนทั้งเด็กหญิงเด็กชาย รวมทั้งยังต้องรับผิดชอบร่วมกันดูแลอีกชีวิตหนึ่งที่กำลังจะเกิดมา ดังนั้น ทางแก้ไขจึงควรจะพิจารณาถึง
๑. ความรับผิดชอบของทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย ที่จะต้องร่วมกันรับผิดชอบอย่างไรบ้าง แม้ว่าจะไม่ได้แต่งงานกัน ในการผ่อนเบาภาระต่างๆของครอบครัวที่ตนยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ พร้อมทั้งทุ่มเทเวลาและความสามารถในการพัฒนาตนเองด้านการศึกษาการฝึกอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องรับผิดชอบในการดูแลเลี้ยงดูทารกร่วมกันอย่างไร โดยมีครอบครัวและญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่าย ร่วมกันให้ความสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง ช่วยถ่ายทอดทักษะที่จำเป็นต่อการเลี้ยงดูเด็กทารก หากสมาชิกในครอบครัวไม่อาจช่วยเหลือถ่ายทอดด้วยตนเอง จะต้องแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้มีทักษะเชี่ยวชาญจากภายนอก ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือหรือแนะนำวิถีการดำเนินชีวิตของทั้งสองฝ่าย
๒. ความรับผิดชอบของทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย รวมถึงครอบครัวของทั้งสองฝ่าย ในการแก้ไขผลกระทบที่ติดตามมาจากการทำให้ตั้งครรภ์ร่วมกันอย่างไร เช่น การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กในครรภ์และแม่วัยเด็ก การพยายามสร้างโอกาสและเงื่อนไขให้แม่วัยเด็กสามารถดำเนินชีวิตเรื่องการศึกษาการฝึกอาชีพต่อไปได้โดยไม่ติดขัด ร่วมกันแก้ไขปัญหาความกดดันจากสังคมที่มีต่อแม่ตั้งครรภ์ในวัยเด็ก การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ทำให้แม่วัยเด็กมีความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่มีความทุกข์ความเครียดความกังวลโดยครอบครัวและญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์มีปัญหาสุขภาพต่างๆเช่น ความพิการทั่วไปและความพิการทางสมอง รวมทั้งทำให้การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาสมองของทารกเป็นไปด้วยดี ทั้งนี้ฝ่ายชายต้องมีบทบาทสำคัญในเรื่องเหล่านี้เพราะการแสดงบทบาทหน้าที่ในเรื่องเหล่านี้ของฝ่ายชาย มีผลอย่างยิ่งในการคลี่คลายปัญหาดังกล่าวข้างต้น
๓. ความรับผิดชอบต่อตนเองที่ต้องเร่งพัฒนาตนเพื่อสามารถพึ่งตนเองโดยเร็ว รวมทั้งสามารถเป็นที่พึ่งของเด็กทารกได้ด้วย ทั้งนี้เมื่อขณะก่อนการตั้งครรภ์ เด็กทั้งคู่มีแต่ภาระเฉพาะการพัฒนาตนขึ้นมาจนสามารถพึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งให้แก่สมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว หรืออาจรับผิดชอบช่วยลดภาระต่างๆของครอบครัวเท่าที่จะทำได้เท่านั้น แต่เมื่อให้กำเนิดเด็กทารกก็จะมีภาระเพิ่มขึ้นในการดูแลและเลี้ยงดูเด็กทารก เมื่อมีภาระเพิ่มขึ้นทั้งของตนเองและของครอบครัวเช่นนี้ก็จำเป็นต้องเร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆให้หนักแน่นจริงจังมากขึ้น เพื่อลดระยะเวลาในการต้องเป็นภาระของคนอื่นๆให้สั้นที่สุดของทั้งสองฝ่าย หากยังมีความรักผูกพันระหว่างเด็กหญิงและเด็กชายไม่ใช่เพียงเรื่องความต้องการทางเพศ ย่อมถึงเวลาอันเหมาะสมที่เขาทั้งสองจะร่วมชีวิตกันเป็นสามีภริยาอย่างแท้จริง
๔. รับการบำบัดและฝึกฝนที่จะสามารถจัดการกับอารมณ์เพศได้อย่างสร้างสรรค์ แทนการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรนั้น จะทำให้ความสามารถในการควบคุมตนเองในเรื่องเพศเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์เพศกระทำได้ยากหรืออาจไม่ได้เลย เป็นเหตุให้เด็กขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองในด้านต่างๆหันมาหมกมุ่นแต่เรื่องเพศ มีงานวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าเด็กที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ส่วนมากจะไม่ประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาและอาชีพการงาน ทั้งนี้เพราะขาดการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่องเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะการแต่งงานแต่วัยเด็กทำให้ขาดช่วงชีวิตในวัยเด็กขาดโอกาสพัฒนาตน จึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดโดยทีมจิตบำบัด เพื่อให้เด็กสามารถควบคุมความต้องการทางเพศได้ในระดับปกติ โดยเฉพาะการรู้จักวิธีการสลายความกดดันอารมณ์เพศที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดและหมกมุ่นในเรื่องเพศ ด้วยกิจกรรมสร้างความสุขและออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการเต้นแอโรบิก การท่องเที่ยวปีนเขา เดินป่า ดูนก เล่นดนตรี เล่นกีฬา ทำงานศิลปะ ฯลฯ
ในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับวัยรุ่นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ ไม่พร้อมและลดอัตราการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์นั้น ดร.นพ.พรเทพบอกว่ากรมอนามัยได้จัดทำโครงการเครือข่ายวัยรุ่นอาสาวางแผนครอบ ครัว เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นไทยมีความรู้ เกิดความตระหนักและใช้บริการวิธีคุมกำเนิดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพพร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยรุ่นให้สามารถให้การปรึกษาเกี่ยวกับเพศศึกษา ได้ โครงการนี้เป็น1 ใน 8 โครงการหลักที่กรมอนามัยจะมุ่งเน้นในปี2557 ซึ่งจะมีการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิด “เข้าใจ เข้าถึง ช่วยเหลือ” โดยใช้ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ 1.การสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างความตระหนักต่อปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น รวมทั้งการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครองและวัยรุ่น ให้วัยรุ่นตัดสินใจชะลอการมีเพศสัมพันธ์ออกไปจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม และให้กลุ่มที่ตัดสินใจจะมีเพศสัมพันธ์ได้มีความรู้ในการป้องกันเพื่อลด ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการตั้ง ครรภ์ไม่พร้อมก็ตาม ซึ่งจะร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับ เพศศึกษาและทักษะชีวิตในโรงเรียน พัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่ตรงกับความต้องการของวัยรุ่น พัฒนาศักยภาพครูให้มีความรู้ ทักษะ ความมั่นใจ ในการให้ความรู้ รวมทั้งการสื่อสารกับสังคมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ 2. คือการเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์โดยจะสร้างระบบ บริการที่ครอบคลุมทุกความต้องการของกลุ่มวัยรุ่น ได้แก่ บริการให้คำปรึกษา ให้ความรู้ บริการคุมกำเนิด เน้นต้องเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งกรมอนามัยจะร่วมกับกรมควบคุมโรคและกรมสุขภาพจิต สนับสนุนให้โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 835 แห่ง จัด “คลินิกวัยรุ่น”ให้วัยรุ่นเข้าถึงบริการได้ง่าย ตามมาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน(Youth Friendly Health Services) ทั้งบริการคุมกำเนิด การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย การดูแลแม่วัยรุ่นอย่างเป็นองค์รวมโดยจะเชื่อมโยงกับเครือข่าย รพ.สต. โรงเรียน ชุมชน และเครือข่ายนอกกระทรวงสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ สถานศึกษา สถานประกอบการและองค์กรเอกชนในพื้นที่ เพื่อให้มีการทำงานที่เข้มแข็ง มีบริการเชิงรุก และมีระบบส่งต่อที่เหมาะสมในกรณีที่มีความจำเป็น
ยุทธศาสตร์ที่ 3. ดร.ระบบการดูแลและช่วยเหลือเมื่อ เกิดปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมขึ้น เป็นบริการให้คำปรึกษาแบบมีทางเลือก ทั้งเลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อไปหรือที่จะยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งสมัยก่อนสังคมจะมองว่าการให้บริการแบบนี้เป็นการส่งเสริมให้วัยรุ่นทำ แท้งมากขึ้น ปัญหานี้ถ้าภาครัฐไม่จัดให้มีระบบดูแลช่วยเหลือก็เท่ากับผลักไสให้วัยรุ่นไป เสาะหาบริการด้วยตัวเอง ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานบริการที่ผิดกฎหมายนำไปสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยแล้ว ยังมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นตามมามากมาย แต่ถ้าวัยรุ่นได้เข้าสู่ระบบการดูแลช่วยเหลือให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่ก็จะไม่เลือกยุติการตั้งครรภ์แต่มักจะเลือกการตั้งครรภ์ต่อไป ซึ่งต้องให้ความช่วยเหลือเช่นกันไม่ว่าจะเป็นการทำความเข้าใจกับครอบครัว โอกาสในการศึกษาต่อ หรือโอกาสในการทำงานในอนาคต รวมทั้งการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ ด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและการคุม กำเนิด โดยเฉพาะวิธีคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรที่มีประสิทธิภาพสามารถคุมกำเนิดได้ 3-5 ปี เช่นยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัย
“นอกจากการดำเนินงานของกรมอนามัยดังที่กล่าวมา การมีครอบครัวที่อบอุ่นถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันวัยรุ่นจากพฤติกรรม ทางเพศที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมได้ ซึ่งพบว่าวัยรุ่นที่มีการพูดคุยเรื่องการคุมกำเนิดกับพ่อแม่ มีการใช้วิธีคุมกำเนิดมากกว่าผู้ที่ไม่เคยคุย พ่อแม่/ผู้ปกครองจึงต้องมีเวลาพูดคุยกับลูกวัยรุ่นให้มากยิ่งขึ้นให้เกียรติ ยอมรับ รับฟัง และเข้าใจในในปัญหาของวัยรุ่น การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากครอบครัว จะช่วยให้วัยรุ่นสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม สามารถก้าวผ่านปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของวัยรุ่นไปด้วยดี”ดร.นพ. พรเทพกล่าวปิดท้าย
แนวทางการช่วยเหลือ การแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยอย่างได้ผลต้อง
ดำเนินการในทุกระดับ ตั้งแต่วัยรุ่นเอง ครอบครัว สังคม และระดับชาติไปพร้อมๆ กันโดยต้องเน้นการป้องกันปัญหามากกว่าการแก้ไขหรือฟื้นฟู ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของแพทย์ควรประกอบด้วย
การให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องและเหมาะสมแก่ระดับพัฒนาการแก่
พ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นวัยรุ่นที่มีพื้นฐานด้านจิตใจที่มั่นคง มีความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองไม่เป็นผู้ที่รู้สึกขาดรัก ให้คำแนะนำเรื่องการสร้างบรรยากาศในครอบครัวและความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกโดยเฉพาะในช่วงลูกเป็นวัยรุ่น ให้คำแนะนำเรื่องการรับสื่อต่างๆ ของลูกอย่างเหมาะสม ให้พ่อแม่สนับสนุนด้านกีฬา ดนตรี หรือความสามารถพิเศษอื่น และให้ร่วมกิจกรรมทางศาสนาสม่ำเสมอ
แพทย์ควรมีทักษะในการดูแลและให้การช่วยเหลือวัยรุ่น ควรประเมินด้านจิตสังคมอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในเรื่องความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง การจัดการกับความเครียด ปัญหาการเรียน ปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม ความรู้เรื่องเพศศึกษา รวมถึงพฤติกรรมและค่านิยมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศและสามารถให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่วัยรุ่นได้
การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ควรปฎิบัติดังนี้
๑) หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงทางเพศ เช่น
- ไม่อยู่ในที่ลับตากับเพศตรงข้ามสองต่อสอง
- ไม่เสพสุราหรือของมึนเมา
- ไม่ไปเที่ยวค้างคืนกับเพศตรงข้าม
- ไม่ไปเที่ยวค้างคืนกับเพศตรงข้าม
- ไม่ดูสื่อที่ยั่วยุอารมณ์ทางเพศ
๒) ไม่ยินยอมให้ถูกเนื้อต้องตัวได้โดยง่าย เช่น การจับมือ การกอด จูบ เป็นต้น โดยอีกฝ่ายต้องแสดงอาการหวงตัวเพื่อให้อีกฝ่ายรู้ตัวว่าไม่ควรเช่นนี้อีก
๓) ไม่ยินยอมให้มีเพศสัมพันธ์ด้วย โดยอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้
- พูดกันแบบตรงไปตรงมาว่ายังไม่พร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ด้วย
- พูดปฎิเสธอย่างหนักแน่นถ้าอีกฝ่ายขอมีเพศสัมพันธ์ด้วย
๔) ต้องเลิกคบกับผู้ที่ชอบล่วงเกิน เพราะแสดงว่าคนผู้นั้นไม่มีความจริงใจต่อกัน
วิธีป้องกันท้องในวัยทีน ดังนี้
-
ประชาชน ทุกคนต้องเห็นความสำคัญของการป้องกันท้องในวัยทีน โดยถือว่าเป็นหน้าที่ของพลเมืองดีที่จะช่วยกันอบรมสั่งสอน (เท่าที่จะเป็นไปได้) สอดส่องดูแลความประพฤติของวัยรุ่น ช่วยเป็นหูเป็นตาแจ้งผู้ปกครอง สถานศึกษา ตำรวจ ฯลฯ เมื่อพบความเสี่ยง
-
สังคม ต้องมีส่วนรับผิดชอบ เช่น ลดการยั่วยุทางกามารมณ์ ไม่ปากว่าตาขยิบกับวัยรุ่น ไม่ว่าในสถานบันเทิง การขายสุรา การมั่วสุมในที่ต่างๆ ฯลฯ
-
ครอบครัวต้องถือว่าเป็น หน้าที่หลักที่จะดูแลลูกหลานวัยรุ่นของตนเองอย่างใกล้ชิด ความรักและความใกล้ชิดทำให้ตรวจพบสิ่งผิดปกติตั้งแต่เริ่มแรก
-
พ่อ แม่ผู้ปกครองต้องเข้าใจจิตวิทยาของวัยรุ่น ต้องพัฒนาตนเองให้ทันยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนแปลง ทั้งเรื่องข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี การใช้ชีวิต ฯลฯ
-
หาก มีลูกหลานเป็นชาย ควรสอนเขาตั้งแต่เด็ก ถึงความเป็นสุภาพบุรุษ ไม่ล่วงเกินเพศตรงข้าม หากยังไม่พร้อมและไม่สามารถรับผิดชอบเลี้ยงดู สร้างครอบครัวได้
-
สร้างค่านิยมไม่มีเพศ สัมพันธ์ในวัยรุ่น คนเก่งต้องรู้จักเซย์โน สนับสนุนการสร้างปณิธานให้รักษาพรหมจรรย์จนถึงวัยอันควร โดยใช้ความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว, หลักการทางศาสนา, จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ฯลฯ
-
สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องสนับสนุนองค์ความรู้ทางเพศศึกษา (รวมถึงการคุมกำเนิด) ที่ถูกต้อง ตั้งแต่ก่อนที่นักเรียนจะเข้าสู่วัยรุ่น
-
รัฐบาล ต้องถือว่าการลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นนโยบายสำคัญ มีงบประมาณ กลยุทธ์ สนับสนุนองค์กรที่เกี่ยวข้อง และมีการลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
-
สื่อต่างๆ ควรสนับสนุนบทเรียนและการเรียนรู้ทางเพศศึกษาที่ถูกต้อง โดยมีดารานักร้อง ฯลฯ เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่วัยรุ่น
-
นักเขียน นักแสดง ผู้จัดละคร ภาพยนตร์ ควรเสนอบทเรียนของการตั้งท้องวัยทีนให้แพร่หลาย ในหลากรูปแบบงานวรรณกรรม บันเทิงคดี ฯลฯ
-
สถานพยาบาลควรมีคลีนิคให้คำปรึกษาวัยรุ่น ที่สามารถติดต่อปรึกษาได้ทุกเมื่อ
-
แพทย์พยาบาลผู้ให้บริการต้องไม่มีอคติต่อวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
-
มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ช่วยปรึกษาหาทางออกให้ เมื่อวัยรุ่นพลาดพลั้งตั้งครรภ์
-
. ล้อมรั้วด้วยรัก อภัย เข้าใจ และเห็นใจ ทั้งจากคนในครอบครัว และคนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้จะสร้างความมั่นใจและให้กำลังใจ ทำให้วัยรุ่นที่เสียตัวไปแล้วไม่ตั้งครรภ์ ที่ตั้งครรภ์ไปแล้วก็จะไม่ท้องในวัยทีนซ้ำอีกเป็นครั้งที่สอง
อ้างอิง : 1. สำนักสื่อสารองค์กร กรมอนามัย
2. http://www.thaichildrights.org/movement/report/331
3. http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2197-00/


คำถามชวนคิด ?
"สับสนทางเพศทำไงดี"

